ชื่องานวิจัย :

เทคนิคการคลายความเค้นในไม้ยางพาราหลังการอบด้วยวิธีการบ่มไม้ที่อุณหภูมิต่ำ

ที่มาและความสำคัญ :

     โดยทั่วไปไม้ยางพาราแปรรูปอบแห้งที่ผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมจะยังคงมีความเค้นตกค้างภายในเนื้อไม้เมื่อสิ้นสุดกระบวนการอบ ซึ่งเป็นสาเหตุให้ไม้เกิดการแตกหลังการอบหรือเกิดการโก่งตัวหลังการแปรรูป ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องลดค่าความเค้นในไม้ดังกล่าวให้อยู่ในระดับที่ไม่ทำให้เกิดการแตกหรือโก่งตัวหลังการแปรรูปโดยเฉพาะในไม้ยางพาราแปรรูปที่มีความหนามากๆตั้งแต่ 2 นิ้วขึ้นไป เทคนิคที่โรงงานไม้แปรรูปทั้งในและต่างประเทศใช้อยู่ในปัจจุบันคือการสเปรย์ไอน้ำก่อนสิ้นสุดการอบเพื่อเพิ่มความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศภายในเตาอบให้ที่สูงขึ้นที่อุณหภูมิของการอบเพื่อคลายความเค้นในเนื้อไม้ ถึงแม้ว่าวิธีการดังกล่าวจะสามารถคลายความเค้นภายในเนื้อไม้ได้แต่ต้องมีการสเปรย์ไอน้ำเป็นปริมาณมากซึ่งไม่สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยเตาอบไม้ยางพาราที่มีใช้อยู่ในประเทศไทย ดังนั้นโดยทั่วไปในกระบวนการผลิตไม้ยางพาราแปรรูปในโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศไทยจึงไม่มีการดำเนินการในขั้นตอนนี้เพราะไอน้ำที่ต้องใช้ซึ่งจะใช้ในกระบวนการอบไม้ด้วยมีปริมาณไม่เพียงพอและมีการสิ้นเปลือง การประดิษฐ์นี้จึงมุ่งเน้นที่จะหาสภาวะการบ่มไม้ที่อุณหภูมิต่ำที่เหมาะสมโดยจะดำเนินการหลังการอบเสร็จสิ้นโดยการปล่อยให้ไม้เย็นตัวลงจนถึงระดับอุณหภูมิที่เหมาะสมก่อนแล้วจึงทำการสเปรย์ไอน้ำเพื่อลดการใช้ปริมาณไอน้ำลง ซึ่งจะทำให้สามารถคลายความเค้นตกค้างในไม้ที่มีขนาดความหนามากๆหลังการอบได้อย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดการใช้ไอน้ำ

เทคโนโลยี :

     การคลายความเค้นในไม้หลังการอบด้วยวิธีการบ่มไม้ที่อุณหภูมิต่ำภายใต้สภาวะความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศสูง ประกอบด้วย 1. การปล่อยให้ไม้ยางพาราที่ผ่านการอบเสร็จสิ้น เย็นตัวลงมาภายในเตาอบจนมีอุณหภูมิกระเปาะแห้งในอยู่ในช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสม และจะทำการเพิ่มความชื้นของอากาศภายในเตาอบให้มีค่าผลต่างระหว่างอุณหภูมิกระเปาะแห้งและกระเปาะเปียก แล้วทำการบ่มไม้ที่สภาวะดังกล่าวเป็นระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งจะทำให้ความชื้นที่บริเวณผิวไม้จะมีค่าเพิ่มขึ้น และความเค้นในไม้จะเกิดการคลายตัวลงไป

ข้อดี / จุดเด่น :

1.สามารถคลายความเค้นในไม้ยางหลังการอบด้วยวิธีการบ่มไม้ที่อุณหภูมิต่ำ
2.ลดการแตกภายหลังการอบหรือเกิดการโก่งตัวหลังการแปรรูป
3.โรงงานไม้ยางพาราแปรรูป สามารถคลายความเค้นตกค้างในไม้ที่มีความหนามากๆ ได้โดยใช้ปริมาณไอน้ำเพื่อเพิ่มความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศภายในเตาอบในปริมาณที่น้อยลง
4.สามารถลดต้นทุนความเสียหายของไม้ยางพาราได้แปรรูปได้ ช่วยให้ผู้ประกอบการต้นทุนที่ต่ำลง

ประเภททรัพย์สินทางปัญญา :

อนุสิทธิบัตร

เลขที่คำขอ :

210300162

วันที่ยื่นคำขอ :

2564-05-18