ชื่องานวิจัย :

แบบหล่อตัวอย่างคอนกรีตแบบใส

ที่มาและความสำคัญ :

     ในปัจจุบันการก่อสร้างในประเทศไทย ทั้งในส่วนของที่พักอาศัย และโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนนคอนกรีต สะพาน สถานีรถไฟฟ้า เขื่อน เป็นอุตสาหกรรมก่อสร้างที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว ในการก่อสร้างเหล่านี้ วัสดุคอนกรีตซึ่งเป็นวัสดุที่ใช้มาอย่างยาวนานในการก่อสร้าง ในการออกแบบโครงสร้างคุณสมบัติคอนกรีต นับเป็นปัจจัยหนึ่งที่ต้องควบคุมคุณภาพ ให้เป็นไปตามที่ออกแบบ ในโครงการต่างๆ เพื่อนำไปทดสอบในห้องปฏิบัติการเช่น กำลังรับแรงอัด กำลังรับแรงดึง ค่าโมดูลัสยืดหยุ่น เป็นต้น ดังนั้นเกือบจะถือได้ว่าทุกโครงการที่ใช้คอนกรีตในการก่อสร้าง จึงจำเป็นต้องมีการเก็บตัวอย่างคอนกรีต ขั้นตอนในการเก็บตัวอย่างคอนกรีตอ้างอิงตามมาตรฐาน ASTM C109 และ BS 8110 ซึ่งจะประกอบด้วยแบบหล่อที่เป็นเหล็กหล่อรูปทรงกระบอก หรือ ทรงลูกบาศก์ ซึ่งจะมีน้ำหนักค่อนข้างมาก 10-14 กก. การเก็บตัวอย่างจะทำการเก็บในขณะที่คอนกรีตสดกำลังจะเทลงแบบ โดยจะนำคอนกรีตสดเทลงในแบบหล่อที่เป็นเหล็ก แล้วจึงเก็บบ่มตามอายุ ที่กำหนด เช่น 7 วัน, 14 วัน, 28 วัน แล้วจึงนำตัวอย่างคอนกรีตที่แข็งตัวแล้วจากแบบหล่อถอดออกจากแบบหล่อที่เป็นเหล็ก ซึ่งใช้เวลาในการถอด เนื่องจากแบบหล่อเหล็กจะประกอบด้วยด้วยน๊อตยึดติดกับแบบหล่อ 2 ชิ้นซ้ายขวาตั้งอยู่บนฐานเหล็ก จึงใช้เวลาในการแกะแบบ 3 ถึง 5 นาที ต่อตัวอย่างคอนกรีต 1 ก้อน

เทคโนโลยี :

     แบบหล่อตัวอย่างคอนกรีตแบบใส จะประกอบไปด้วยท่ออะคริลิคใสแบบกลวงหนา 10 มม. เป็นวัสดุที่มีราคาถูก หาได้ในประเทศ มีน้ำหนักเบา เพียง 0.5 - 1.5 กก. และมีฝาปิดหนึ่งด้าน ที่ฝาปิดนี้จะมีรูเจาะขนาด 5 มม. สำหรับใช้หัวลมเป่าเพื่อให้ตัวอย่างคอนกรีตหลุดออกจากแบบหล่อ

ข้อดี / จุดเด่น :

1. สามารถตรวจสอบลักษณะทางกายภาพของคอนกรีตสดได้ทุกขั้นตอนในขณะที่อยู่ในแบบหล่อ
2. ลดขั้นตอนและเวลาในการเก็บตัวอย่างคอนกรีต
3. ลดเวลาในการถอดตัวอย่างคอนกรีตออกขากแบบหล่อ
4. น้ำหนักเบากว่าแบบหล่อ ประเภทเหล็ก

ประเภททรัพย์สินทางปัญญา :

อนุสิทธิบัตร

เลขที่คำขอ :

2003001172

วันที่ยื่นคำขอ :

2563-06-01