ชื่องานวิจัย :

ผนังคอมโพสิตแบบรังผึ้ง

ที่มาและความสำคัญ :

     ผนังคอมโพสิตแบบรังผึ้ง ทำขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาทางด้านต้นทุนการผลิต ประสิทธิด้านพลังงาน และปัจจัยความแข็งแรงทางด้านวิศวกรรม โดยบูรณาการออกแบบและพัฒนารูปแบบการจัดเรียงวัสดุแกนกลางที่ใช้รับน้ำหนักเป็นแบบลักษณะรังผึ้งนี้ จะมีความสามารถต้านทานแรงแนวราบได้อย่างมีประสิทธิภาพ และผนังคอมโพสิตแบบรังผึ้งสามารถติดตั้งได้รวดเร็วโดยช่างทั่วไป เนื่องจากส่วนประกอบของผนังทุกชื้นส่วน เป็นวัสดุสำเร็จรูป และไม่ต้องมีการฉาบที่ผิว และยังสามารถเดินงานท่อ งานระบบต่างๆ ได้โดยไม่ต้องสกัด หรือรื้อชิ้นส่วนผนังออก ซึ่งจะลดขั้นตอนการก่อสร้างลงได้มาก และสามารถออกแบบใช้เป็นผนังรับแรงสำหรับบ้านพักอาศัย ขนาด 1 ชั้น โดยไม่ต้องก่อสร้างคานหรือเสา แบบผนังดั้งเดิม

เทคโนโลยี :

     ระบบผนังคอมโพสิตแบบรังผึ้ง จะประกอบไปด้วยแผ่นประกบ ทำด้วยวัสดุซีเมนต์บอร์ด ชนิด Calcium Silicate Board ซึ่งมีคุณสมบัติต้านแรงดัด และมีคุณสมบัติทนไฟ เป็นฉนวนกันความร้อน และกันความชื้น และแกนกลางจะประกอบไปด้วยวัสดุสองชนิดคือ แผ่นโพมชนิดไม่ลามไฟ ประเภท Expanded Polystyrene (EPS) มีความเป็นฉนวนป้องกันความร้อนสูง และคอนกรีตมวลเบา (Light weight Foamed Concrete) ซึ่งจะมีคุณสมบัติไม่กักเก็บความร้อนจากภายนอก การดูดซับเสียงที่ดี ป้องกันการลามไฟ และความต่อเนื่องของคอนกรีตมวลเบาที่มีเม็ดโฟมเป็นส่วนประกอบในลักษณะรังผึ้งจากการออกแบบทางวิศวกรรม ทำให้มีความสามารถรับแรงแนวราบและแรงกระแทกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผนังคอมโพสิตแบบรังผึ้ง สามารถใช้แทนงานผนังก่ออิฐได้ เพราะมีน้ำหนักของผนังรวมที่เบากว่า และสร้างได้เร็วกว่า สามารถขนย้ายในสถานที่จำกัด เช่น ลิฟท์ในอาคารสูง และสามารถยกติดตั้งได้โดยใช้แรงงานเพียง 1 คน และจากการใช้แผ่นซีเมนต์บอร์ดประกบทั้งสองด้านทำให้ไม่เสียเวลาฉาบปูน ได้งานที่เรียบร้อยกว่า สวยงาม และมั่นคงแข็งแรง

ข้อดี / จุดเด่น :

1. ก่อสร้างได้รวดเร็ว ประหยัดเวลาและวัสดุเหลือทิ้ง
2. ผนังสามารถรับแรงในแรวราบและแนวดิ่งได้
3. สามารถออกแบบใช้เป็นระบบผนังรับแรงสำหรับบ้านพักอาศัยขนาด 1 ชั้นได้
4. สามารถป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ประเภททรัพย์สินทางปัญญา :

อนุสิทธิบัตร

เลขที่คำขอ :

2003001173

วันที่ยื่นคำขอ :

2020-06-01